041 ธรรมปัจเวกขณ์
พยายามตรวจตรา ส่วนใดที่เราได้แล้ว อย่างชนิดที่เรียกว่า ตั้งมั่น คือว่า เราได้ ได้อย่างแข็งแรง อย่างสบาย เรียกว่า ไม่ต้องห่วงอะไร มากมายนัก แม้จะเหลือเศษ อยู่เล็กๆน้อยๆ ก็ถือว่า ตั้งมั่นได้ฐานหนึ่ง มันยังไม่ถึงขั้น ถอนอาสวะเท่านั้น เพราะฉะนั้น มันตั้งมั่น แข็งแรง แน่ใจแล้ว แล้วเราก็ต้อง พยายามหา กรรมฐานใหม่ พยายาม เลื่อนฐานะของตน มีอะไรๆทำเพิ่มไปอีก สิ่งที่ยังเหลืออยู่ ก็ทำต่อ มันเหลือเล็กเหลือน้อย ก็ทำต่อไปอีก อย่าปล่อยปละ ละเลย แล้วอย่าไปติดอยู่แต่ แค่ฐานเก่า ซ้ำแซะซ้ำซาก ไม่รู้การเลื่อนน่ะ อันนี้ทำให้คนไม่รู้อยู่เยอะ ไม่ตรวจตรา ไม่มีปัญญาที่จะรู้ว่า ได้แล้วหรือยัง ได้แล้วเสร็จแล้วหรือยัง คือไม่มี สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ เหมือนศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธมี สัจญาณ กิจญาณ กตญาณ มีของจริงความจริง รู้สภาพจริงๆ จับได้แม่น ได้มั่น มีทั้งเหตุผล มีทั้งความรู้ เป็นทฤษฎี แล้วก็มีสภาวะที่ปรากฏ ปฏิบัติแล้ว รู้เห็นจริงของจริง เป็นปัจจัตตัง มีจิตทำไปได้อย่างหยาบ กลาง ละเอียด ได้แค่ไหน อะไร อย่างไร รู้ เข้าใจจริงๆ เกิดปัญญา รู้ความจริง ตามความเป็นจริง จนกระทั่ง สามารถที่จะเพิกฌาน เพิกกรรมฐาน เพิกนี่ หมายความว่า เราไม่ต้องไปปิด เราไม่ต้องไปทำฉ่ำแฉะ ไม่ต้องไปเที่ยวได้วุ่นวาย ย้ำอยู่ อย่างไม่รู้เลื่อนน่ะ เราต้องเลื่อน สลัดออกบ้าง เลื่อนชั้น มีอะไรเพิ่ม ให้ยิ่งขึ้นน่ะ แต่เราต้องรู้นะว่า ของเก่า มันยังไม่เกลี้ยงจริง ก็จะต้อง ไม่เผลอไผล ต้องมีการสอดส่องดูแล เหมือนอย่างกับ เราเรียน เรื่องการกิน เรื่องรส เรื่องชาติ อะไรต่อ อะไรพวกนี้ มันยังไม่หมด แต่ว่าเรา ก็มั่นใจล่ะ แข็งแรง เราไม่ละเมิดได้ข้างนอก หิริ โอตตัปปะ เราเพียงพอ แต่ข้างใน ยังเหลือเชื้อ รูปราคะ อรูปราคะ ยังเหลือเศษ เหลือไหวๆ หวั่นๆ เหลืออะไรพลิ้วๆ พรายๆ อะไรต่างๆ อยู่ในจิตในใจ ในอารมณ์ เราจะต้องเรียนรู้ ความแยบคาย ละเอียดลออ พวกนี้ด้วย กวาดเก็บ ทำให้ จนกระทั่งหมด ไม่มีพลิ้วพราย ไม่มีอะไรหวั่นไหว ไม่มีอะไรเลย แม้ในกาละ ที่มันถูกกระทบสัมผัส อย่างแรง อย่างกระแทก กระทั้น เจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้างก็ตาม เราก็มี สติสัมปชัญญะ ไม่เผลอตัว รู้ตัว ทั่วพร้อม อยู่เสมอ ให้รู้ว่า อ๋อ! นี่เกิดนิด เกิดหน่อย ไม่ได้ตั้งใจรับ แต่ก็ยังสามารถรู้บท บทมันกระเทือน หรือ ไม่กระเทือน เราจึงจะเป็น ผู้รู้ของจริง สามารถเก็บกวาด รายละเอียด ต่างๆ ให้ครบถ้วน สะอาด สอ้าน ดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ ได้แท้ๆ จริงๆน่ะ ทฤษฎีของพระพุทธเจ้า จึงละเอียดลออและสูงยิ่ง ยิ่งสูงขึ้นไปตามลำดับ ตามลำดับจริงๆ มีความหมดเกลี้ยง มีสิ่งที่ยืนยันได้ พิสูจน์ได้ อย่างอยู่ต่อหน้าต่อตา อย่างอยู่ต่อสิ่งนั้นๆ โดยที่เห็น ความดับสนิท ความนิ่ง ไม่เกิดอีก แรงจะมาหลอกมาล่อ มากระทุ้งกระแทก มาใช้กลเม็ด มาใช้กลยุทธ์ อย่างใดๆ ก็ไม่ทำให้เสีย ไม่ทำให้เปลี่ยนแปลง ทุกอย่างมั่นคง แข็งแรงเด็ดขาดน่ะ ถึงที่สุด เป็นอย่างนั้น ก็ขอให้พิสูจน์ ไปเรื่อยๆ เหตุปัจจัยใดๆ ที่เราจับแม่นเป้าแล้ว เราก็ถือเป็น ฐานการศึกษา แล้วเราก็ติดตาม ทางภายนอก ภายใน ไปจนกระทั่ง ถึงจิตถึงวิญญาณ รายละเอียดไป จนกระทั่ง ถึงอนุสัยอาสวะ แล้วเราก็จะได้รู้ ตลอดสาย ของความกี่ยวพัน ตั้งแต่วัตถุนอก ไปจนกระทั่งถึง การประชุมอยู่กับเรา จนกระทั่ง ติดชิดเข้ามาถึงกาย ถึงอาการหยาบ อารมณ์หยาบ ไปจนกระทั่ง ถึงอารมณ์ละเอียด จนกระทั่งถึงเหลือเศษ จนกระทั่ง เหลือภพในภพจริงๆ ดังที่กล่าวนี้ เราก็จะเป็นผู้ได้ความรู้จากของจริง จริงๆ เหมือนนักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ได้แต่เดา ไม่ใช่เรียนแต่ภาษา บัญญัติ แต่มีของจริงที่เรารู้ เป็นตัวอย่าง มีเหตุมีปัจจัย เรื่องใดแล้ว เรื่องอื่นๆทุกเรื่อง มันก็จะเป็น สิ่งประกอบกับเรา แล้วเราก็กระทุ้ง กระเทือน ไปเป็นกิเลส แล้วเราก็ต้องลด ต้องละ ต้องล้างออกไป หารายละเอียด อย่างที่มันเป็น เหมือนอย่างอันอื่นๆ ที่เราได้เรียนรู้มาแล้ว ความชำนาญ จะมากขึ้น ความแข็งแรง ที่จิตของเราได้ล้าง ละ ลด ลงไปเรื่อยๆ ก็จะมากขึ้น มากขึ้นๆ จะเป็นจริงน่ะ ก็ขอให้พิสูจน์กันจริงๆ แล้วก็อย่าเป็นผู้ติดแป้น ติดฐานะ ติดภูมิเดิมภูมิเก่า ไม่มีสัจจญาณ กิจจญาณ อย่างนั้นไม่เอา ต้องมี มีความจริง มีงานที่ทำกับมัน จนกระทั่ง แล้วก็ให้รู้ว่าแล้ว เป็นกตญาณ จบให้รู้จบ เหลือน้อยให้รู้เหลือน้อย เก็บกวาดให้ละเอียด ให้รู้เก็บกวาดให้ละเอียด จึงจะเป็น การปฏิบัติธรรม ที่เร็วน่ะ ไปได้เร็ว ไปได้ไว ไม่เนิ่นช้า และละเอียดลออ สูญสนิทสมบูรณ์ สาธุ. ธรรมปัจเวกขณ์ ๒๕๒๖
|